ไขข้อสงสัย แรม คืออะไร มีกี่รุ่น กี่ขนาดบ้าง มาทำความรู้จักกันให้มากยิ่งขึ้น

แรม คืออะไร

ถ้าเปรียบความฉลาดของคนเราคือสมอง เมื่อนำไปเทียบกับคอมพิวเตอร์ หรือนำไปเทียบกับอุปกรณ์ไอที ก็จะเปรียบเหมือนซีพียู ที่ควบคุมทุกอย่างคอยสั่งการทุกอย่าง ยิ่งซีพียูเยอะ ซีพียูแรงๆ จะทำให้เราสามารถทำสิ่งที่ยุ่งยากซับซ้อนได้รวดเร็ว ตอบโจทย์ทันท่วงที และถ้าเปรียบความสามารถในการจัดการทุกๆ อย่างที่เข้ามาพร้อมๆ กัน คนที่มีความสามารถในการจัดการที่ดี ก็จะจัดการเรื่องราวต่างๆ ที่เข้ามาพร้อมๆ กันได้เป็นอย่างดี ไม่ติดขัด ไม่แก้ปัญหาแบบโง่ๆ หรือบางทีก็เอ๋อไปเลย

อันนี้ถ้าเปรียบเป็นสิ่งที่อยู่ในอุปกรณ์ไอที ก็น่าจะเปรียบเหมือนแรม ถ้าเราไม่ได้เอาแรมมาเปรียบเทียบกับร่างกายของคนเรา แต่เปรียบเทียบเหมือนโต๊ะทำงานโต๊ะหนึ่ง คุณสามารถเอากระดาษเอาเอกสารเอาอะไรมาวางไว้เยอะๆ ซึ่งรอให้คุณจัดการสิ่งที่อยู่บนโต๊ะเหล่านั้น มันก็คือขนาดของโต๊ะนั่นเองแรมเปรียบเหมือนขนาดของโต๊ะ ถ้าโต๊ะคุณกว้าง โต๊ะคุณใหญ่ คุณก็สามารถเอาของมาวางได้เยอะ

กลับมาที่คำถามแรมคืออะไร

อธิบายง่ายๆ เลยก็คือเปรียบเหมือนพื้นที่ที่รองรับสำหรับการทำงานที่จะเกิดขึ้น ถ้าคุณแรมน้อย การจัดการของคุณจะทำได้ไม่กี่อย่าง ต่อให้ซีพียูคุณจะเร็วเท่าไหร่ก็ตาม แต่ถ้าแรมคุณมีแค่นิดเดียว แปลว่าความสามารถในการประมวลผลจัดการของคุณนั้นมีเยอะ แต่สิ่งที่จะเอาเข้าไปจัดการนั้นมีอยู่แค่นิดเดียว มันก็อาจจะทำให้หน่วยประมวลผลของคุณนั้นทำงานได้ไม่เต็มที่ เพราะมันตันอยู่ที่แรมนั่นเอง เนี่ยคงได้คำตอบสำหรับใครที่ถามมาแล้วว่าแรมคืออะไร

แรมมีกี่รุ่น แรมคืออะไรบ้าง

ในทางภาษาคอมพิวเตอร์แล้ว แรมมีหลากหลายรุ่น ตั้งแต่รุ่นเก่า รุ่นใหม่ แต่รุ่นที่ได้รับความนิยม และถูกใช้งานมาจนถึงทุกวันนี้ก็คือ แรมแบบ DDR ซึ่งในปัจจุบันนี้แรมแบบ DDR ก็มาอยู่ใน Gen ที่ 5 แล้ว แรมรุ่นใหม่ๆ ก็จะขับฟิวเจอร์ออกมามากมาย ไม่ว่าจะเป็นการทำให้ตัวแรมประหยัดไฟได้มากยิ่งขึ้น แรมทำงานได้เร็วยิ่งขึ้น

ก่อนหน้านี้เราได้พูดถึงภาพความเข้าใจที่มองเห็น ในรูปแบบนามธรรมไปแล้ว ต่อไปจะเป็นการพูดอธิบายในเชิงวิทยาศาสตร์กันบ้าง แรมคือหน่วยความจำแบบชั่วคราว แรมเป็นตัวย่อมาจากภาษาอังกฤษ RAM หรือ Random Access Memory มันก็เปรียบเหมือนพื้นที่จัดการชั่วคราว ที่ช่วยทำให้ทุกอย่างสะดวกสบาย และรวดเร็วขึ้น กลไกที่จะทำให้ซีพียูสามารถส่งข้อมูลได้รวดเร็ว และโหลดข้อมูลเพื่อนำมาประมวลผลได้มากยิ่งขึ้น

หลักของการทำงานแล้ว เราไม่ได้พึ่งพื้นที่ในการทำงานจากตัวฮาร์ดดิสก์อย่างเดียว เพราะฮาร์ดดิสก์มีความเร็วต่ำ ถ้าคุณต้องการความเร็วจากฮาร์ดดิสก์มาใช้ ในการส่งไปประมวลผลที่ซีพียู การทำงานของซีพียูอาจจะทำได้ไม่เต็มที่ และต้องรอโหลด จึงมีอุปกรณ์ตัวนี้ขึ้นมานั่นคือแรม นำมาใช้สำหรับการส่งข้อมูลชั่วคราว เพื่อทดแทนความหน่วง ความช้าของฮาร์ดดิส

หากคุณเคยเล่นคอมพิวเตอร์ หรือเล่นมือถือ คุณจะสังเกตได้ว่า เวลาเครื่องคุณหน่วงหน่วง ช้า หนักๆ อาจเกิดจากแรมไม่เพียงพอ คุณจำเป็นที่จะต้องเคลียร์แรมเสียก่อน พอพื้นที่แรมมีเพียงพอต่อการส่งข้อมูลไปยังซีพียู ซีพียูจะประมวลผลได้รวดเร็วยิ่งขึ้น มันมีหลายปัจจัยที่ไม่ได้เกี่ยวข้องกับแรม และคนมักเข้าใจผิดว่าเป็นความผิดของแรมคืออะไรบ้าง ต้องไปอ่านกันต่อในบทความ

สิ่งที่เข้าใจผิด เกี่ยวกับแรม

เคยเจอกันบ้างมั๊ยว่า เวลาคอมช้า หรือเวลาคุณไปอัพเกรดคอมพิวเตอร์ พวกร้านคอมพิวเตอร์พวกนี้จะโทษว่า แรมของเครื่องคุณไม่พอ คุณต้องเพิ่มแรมต้องทำอย่างโน้นทำอย่างนี้ อะไรก็เป็นความผิดแรมไปซะหมด คิดอะไรไม่ออกก็โทษแรมอย่างเดียวเลย ซึ่งต้องบอกว่า แรมเหมือนเครื่องมือที่ช่วยทำให้ทำงานพร้อมๆ กันได้เยอะขึ้น แต่ไม่ได้ช่วยทำให้คอมพิวเตอร์เร็วขึ้น

เลือกขนาดของแรม

สำหรับใครที่กำลังจะลงทุนซื้อคอมพิวเตอร์สักเครื่องนึง ซื้ออุปกรณ์ไอทีสักอย่างแรม 16 GB ถือว่าเป็นแรมที่เพียงพอต่อการเล่นเกม และการใช้งานทำงานได้หลากหลายภาคส่วน ตอบโจทย์กับการใช้งานขั้นต่ำปานกลาง และก็สูง แต่สำหรับใครที่อยากได้แรมเยอะกว่านี้ 32 GB ก็สามารถเพิ่มได้ แต่ค่าใช้จ่ายก็จะเพิ่มมากยิ่งขึ้น ซึ่งมองว่าเราไม่มีความจำเป็นที่จะต้องใช้แรมเยอะขนาดนั้น

ฉะนั้น การเลือกขนาดของแรม คำตอบก็คือเลือกให้เหมาะสำหรับการใช้งาน ถ้าคุณใช้คอมพิวเตอร์ หรืออุปกรณ์ไอที ทำการท่องอินเทอร์เน็ตเพื่อค้นหาข้อมูล คุณก็ไม่จำเป็นที่จะต้องใช้แรมเยอะมากมาย แต่ถ้าคุณใช้แรมเพื่อเล่นเกมส์ หรือทำงานตัดต่อ คุณอาจจำเป็นที่จะต้องใช้แรมเพิ่มมากยิ่งขึ้น แต่อย่างที่บอกแรม 16 GB ก็เพียงพอต่อการใช้งานในยุคปัจจุบัน

สรุปปิดท้ายแรมคืออะไร

คำถามที่ถามว่าแรมคืออะไร ให้อธิบายโดยตรงก็แปลว่าหน่วยเก็บความจำชั่วคราว ในชั่วคราวตรงนี้คืออะไร คำตอบก็คือ เปรียบเหมือนพื้นที่ที่รอการประมวลผล ยิ่งมีเยอะก็แปลว่าเรามีพื้นที่รอการประมวลผลเยอะ ยิ่งแรมเร็วก็ยิ่งทำให้สามารถส่งข้อมูลเหล่านี้ไปประมวลผลได้เร็ว และในแต่ละประเภทก็จะแตกต่างกันไป

ไม่ว่าจะเป็นแรมโน๊ตบุ๊ค ก็จะมีขนาดเล็ก เรียกกันว่า SDRAM หรือแรมที่ใส่ในการ์ดจอ ก็จะเป็นแรมอีกประเภทหนึ่ง ที่เป็นชิปเล็กๆ ฝังอยู่บนบอร์ด และแรม ที่ทุกคนนิยมใช้กันในทุกวันนี้ ก็คือแรมสำหรับคอมพิวเตอร์ที่เราเรียกกันว่า DDR นอกจากนี้ก็ยังมีแรมสำหรับมือถือ หรืออะไรอื่นๆ อีกมากมาย ที่ใช้ในอุปกรณ์ไอที